Compressed Air Quality Class
มาตรฐานสากลที่คนนิยมอ้างอิงและใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับลมอัดคือ มาตรฐาน ISO8573.1 ซึ่งจะมีค่าต่างๆ ตามตารางดังนี้
ISO 8573.1 Air Quality Classes :
In 2010, ISO International Standard Organisation has revised the ISO 8573.1 Compressed Air Quality as below.
จากตาราง จะพบว่า มี อยู่ 3 ส่วน ในลมอัดที่ถูกกำหนด โดยมาตรฐาน ISO8573.1:2010 คือ
-
อนุภาคที่เป็นของแข็ง (Particles) ที่เหลืออยู่และยอมรับได้
-
ความชื้นในลมอัด หรือไอน้ำที่เหลืออยู่ ที่ยอมรับได้ (Dew Point)
-
น้ำมัน ไอน้ำมัน ปริมาณที่เหลืออยู่ และยอมรับได้ (Total oil content)
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักร ต้องการลมอัดที่มีคุณภาพ Class 1.1.1 เราสามารถอธิบายได้ดังนี้
ในส่วนของอนุภาค Class 1 ตัวแรก บ่งบอกว่า ยอมรับในอนุภาค 20,000 Particle of 0.1-0.5μm และ 400 Particles of 0.5-1 μm และ 10 Particles of 1-5 μm สรุปเราต้องใช้ ฟิลเตอร์ เกรดความละเอียดที่ 0.1μm เพื่อทำการกรองสิ่งสกปรกออกจากลมอัดที่มีไส้กรองละเอียดที่ 0.1 micron
ในส่วนของความชื้น Class 1 ตัวที่สอง บ่งบอกว่า ต้องการลมอัดที่แห้งมาก ระดับความชื้นวัดได้ที่ -70 ° C PDP (Pressure Dew Point) นั่นหมายถึง เราต้องใช้ เครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Desiccant air dryer) และต้องเลือกถึงระดับ -70 ° C PDP (Pressure Dew Point) และจะสังเกตเห็นว่า ตั้งแต่ Class 3 ขึ้นไปจนถึง Class 1 จะต้องใช้เครื่องทำลมแห้งแบบ Desiccant air dryer เท่านั้น ส่วน ต่ำกว่า Class 3 คือ Class 4 ลงมา จะสามารถเลือกใช้ Refrigerant air dryer ได้
ิในส่วนของน้ำมันและไอน้ำมัน Class 1 ตัวที่สาม บ่งบอกว่า ความเข้มข้นของไอน้ำมัน จะต้องน้อยกว่า 0.1 มิลลิกรัมต่อลมหนึ่งลูกบาศก์เมตร (mg/m3) ทำให้เราต้องใช้ฟิลเตอร์ เกรดที่ละเอียดมาก ต้องใช้ฟิลเตอร์อย่างน้อย 3 ตัว ในการทำการกรองน้ำมันและไอน้ำมัน คือ ฟิลเตอร์ 1 μm + ฟิลเตอร์ 0.01μm + คาร์บอนฟิลเตอร์ (activated charcoal) ถึงจะสามารถกรองน้ำมันได้ตามมาตรฐานนี้
ตัวอย่างลักษณะงานที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งฟิลเตอร์ แอร์ดรายเออร์ ได้ทำเป็นตัวอย่างตามด้านล่างนี้