การสตาร์ทของมอเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส จากจุดหยุดนิ่งจำเป็นต้องใช้กระแสจำนวนมากระดับหนึ่งในการเอาชนะแรงเฉื่อย ในขณะที่มีการจ่ายกระแสสูง จะเกิดแรงบิดสูงมาก เพื่อให้โรเตอร์หมุนและค่อยๆ เพิ่มความเร็วรอบ จนกระทั่งเข้าสู่ความเร็วรอบตามพิกัดของมอเตอร์นั้นๆ จากการที่มีแรงบิดสูงช่วงสตาร์ทนั้น จะมีผลทำให้อุปกรณ์ทางกลต่างๆ เช่น ลูกปืน เพลา บูท รวมถึงโหลดที่ต่ออยู่เกิดความเสียหายเร็วขึ้น ดังนั้นจึงมีหลายวิธีในการสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อลดความเสียหายต่อตัวมอเตอร์ โหลดต่างๆ ที่ต่ออยู่ในระบบ อุปกรณ์ทางกลต่างๆ การลดกระแสช่วงสตาร์ท แรงดันตก ไฟกระพริบ รวมถึงประสิทธิผลในการสตาร์ทมอเตอร์นั้นๆ ได้ จึงมีการสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้าตามความเหมาะสมในหลากหลายประเภทการใช้งาน
การสตาร์ทมอเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่นิยมใช้กันจะมี 2 ประเภทคือ
1 การสตาร์ทแบบ Direct On Line (DOL)
เป็นการสตาร์ทมอเตอร์โดยตรงโดยไม่ได้มีการลดแรงดันหรือกระแสขณะที่ทำการสตาร์ทมอเตอร์วิธีการสตาร์ทมอเตอร์นี้จะมีกระแสสตาร์ทอยุ่ที่ 6-8 เท่าของค่ากระแสพิกัดการสตาร์ทที่ใช้กระแสสูงอาจทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะและอาจส่งผลกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆในระบบได้และแรงบิดตอนสตาร์ทสูงอาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆได้
2 การสตาร์ทแบบ Star Delta
เป็นการสตาร์ทมอเตอร์ที่ใช้วิธีการลดแรงดันที่ตกคร่อมชุดขดลวดของมอเตอร์เพื่อลดกระแสและทอร์กขณะสตาร์ทมอเตอร์ด้วยวิธีการต่อขดลวดแบบสตาร์จนมอเตอร์หมุนด้วยความเร็มรอบที่ 70-80% ของความเร็วพิกัดจะทำการสลับให้ขดลวดแบบเดลต้าต่อเนื่องจนจบการทำงานแรงบิดตอนสตาร์ทน้อย
Soft Start เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสตาร์ทมอเตอร์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการสตาร์ทการออกตัวของมอเตอร์ให้เป็นไปหยังนุ่มนวลและช่วยในการสต๊อปได้อย่างนุ่มนวลการสตาร์ทมอเตอร์ด้วย soft start จะใช้วงจรที่เป็น power electronics เข้ามาควบคุมการจ่ายกระแสไฟให้กับแต่ละชุดขดลวดของตัวมอเตอร์แทนการจ่ายผ่านหน้าคอนแทคโดยตรง
ข้อดีของการใช้งาน soft start
■ สามารถควบคุมแรงดัน กระแส และแรงบิด ขณะ สตาร์ทได้
■ ลดการกระชากของกระแสขณะสตาร์ท
■ ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์แมคคานิกลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
ข้อเสียของการใช้งาน soft start
■ ไม่ช่วยในการประหยัดพลังงาน
■ ราคาสูงกว่าการสตาร์ทด้วย star delta และ DOL