วิธีทำให้แกนกระบอกไฮดรอลิค 2 ตัวเคลื่อนที่ เข้า-ออกพร้อมกัน
1. การใช้ Flow Divider (ตัวแบ่งน้ำมัน)
2. การใช้ต้นกำลัง แยกออกจากกัน (Tandem Pump)
3. การใช้พื้นที่กระบอกทั้ง 2 ตัวให้สัมพันธ์กัน
วิธีที่ 1
Flow Divider (ตัวแบ่งน้ำมัน) มีหน้าที่หลัก คือ แบ่งน้ำมันไฮดรอลิคที่มาจากตัวปั๊มให้แยกออกเป็น 2 ทาง เพื่อไปเข้าที่กระบอกไฮดรอลิค
ตัวอย่าง
วงจรไฮดรอลิคที่ใช้ Flow Divider เมื่อปั๊มจ่ายน้ำมันออกไป 10 L/min สั่งให้แกนกระบอกเคลื่อนออกโดยให้ Solenoid Valve coil ''10'' ทำงานน้ำมันจากปั๊มไหลผ่าน Solenoid Valve ไปยัง Flow Divider, Flow Divider แบ่งอัตราการไหลออกเป็น 2 ทาง เท่าๆกัน 5L/min ก่อนน้ำมันจะไหลเข้ากระบอกไฮดรอลิคทั้ง 2 ตัว ที่ 5L/min ทำให้แกนกระบอกไฮดรอลิคเคลื่อนที่ออกที่ความเร็วเท่าๆกัน
ระบบไฮดรอลิคที่ต้องการให้แกนกระบอกไฮดรอลิคเคลื่อนเข้า-ออก พร้อมกัน มี 3 วิธี
วิธีที่ 2
การใช้กำลังแยกออกจากัน คือ ใช้ปั๊มไฮดรอลิคแบบ 2 ตอน (Tandem Pump) จ่ายน้ำมันไฮดรอลิคเข้ากระบอกไฮดรอลิคแต่ละตัว
ตัวอย่าง
ตามวงจรเมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าทำงานปั๊มแต่ละตอนจะจ่ายน้ำมันไฮดรอลิคที่มีอัตราการไหลเท่ากันที่ 5L/min เมื่อ Solenoid coil ''a1,a2'' ทำงานพร้อมกัน Directional Valve ทั้ง 2 ตัวจะทำงานพร้อมกันน้ำมันไฮดรอลิคจะไหลเข้ากระบอกไฮดรอลิค No1. และ No.2 แกนกระบอกไฮดรอลิค No.1,No.2 เคลื่อนที่ออกที่ความเร็วเท่ากัน
วิธีที่ 3
การที่จะทำให้แกนกระบอกไฮดรอลิคเคลื่อนที่เข้า-ออกพร้อมกัน โดยพื้นที่ของแกนกระบอก No.1 ด้านลูกสูบจะต้องมีพื้นเท่ากันกับด้านพื้นที่วงแหวนของกระบอก No.2
ตัวอย่าง
ตามวงจรกระบอกไฮดรอลิค No.1 ด้าน A จะมีพื้นที่เท่ากับด้าน B ของกระบอกไฮดรอลิค No.2 เมื่อ Coli ''b'' ของ Solenoid Valve ทำงาน น้ำมันจากปั๊มจะไหลเข้ากระบอกไฮดรอลิค No.2 ตามวงจร แกนกระบอกไฮดรอลิค No.1 และ No.2 จะเคลื่อนที่ออกพร้อมกัน