top of page

ท่ออลูมิเนียม UPIPE เทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์ เรื่องการประหยัดพลังงานและประสิทธิภาพ

01.jpg
02.jpg

        จากอดีตถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีท่อที่ใช้ในงานระบบอุตสาหกรรม จะพิจารณาจาก ความกดดัน อุณหภูมิ วัสดุลำเลียงผ่านท่อ สภาพความเป็นกรด ด่าง ความคงทนสวยงาม ติดตั้งง่าย และงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ท่อที่ใช้ติดตั้งส่วนมาก แบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ

 

    1. ท่อเหล็กกล้าคาร์บอน  (Steel Pipe )

        เป็นท่อที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน และส่วนผสมของธาตุอื่นๆ มาตรฐานท่อจะกำหนดมาตรฐาน โดย ASTM , ASA , ANSI ท่อเหล็กจะมีการเคลือบผิวสีดำ และ อาบสังกะสี เป็นท่อที่นิยมมาใช้ในงานอุตสาหกรรมมาก

    2. ท่อเหล็กหล่อและเหล็กเหนียว (Cast iron and Ductile iron pipe )

เหล็กหล่อ และ เหล็กเหนียว มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง กว่าท่อเหล็กกล้า นิยมใช้ในการลำเลียงน้ำ เหมาะกับการติดตั้งใต้ดิน

    3. ท่อเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic tubes)

ท่อ พีวีซี เป็นสารสังเคราะห์ พวกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งในปัจจุบัน พีวีซี ถูกพัฒนาจนมีคุณสมบัติที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับท่อโลหะ หลายประการด้วยกัน เช่น น้ำหนักเบามีความคงทนถาวร ไม่ทำปฏิกิริยาเคมี ไม่เป็นสารละลายทำให้น้ำเป็นพิษ ผิวท่อทั้งภายนอกภายในเรียบเป็นมัน ไม่ทำให้เกิดตะกอนอุดค้าง เมื่อให้ความร้อน สามารถดัดหรืองอได้ในระดับหนึ่ง ราคาถูกกว่าท่อโลหะ แต่อายุงานและการทนอุณหภูมิรวมถึงการติดตั้งภายนอกอาคารยังเป็นปัญหาใหญ่ของท่อพลาสติก

        ดังนั้น ในระบบปั๊มลมอัด ( AIR COMPRESSOR ) ในอุตสาหกรรมทั่วไป เราจะเห็นท่อส่งจ่ายลม ส่วนใหญ่ใช้ท่อเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel pipe ) ซึ่งคุณสมบัติที่ดี แข็งแรงทนทานต่อความกดดันสูง อายุการใช้งาน 20-30 ปี  หาได้ตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนข้อเสีย มีการผุกร่อน เมื่อสังกะสีเคลือบผิวหลุดออก เกิดตะกันในท่อน้ำ และน้ำมีสนิมเหล็กเจือปน  เกลียวท่อแตกเสียหายได้ เมื่อมีการทรุดตัวของดินอาคาร ใช้เวลาทำเกลียว และท่อประกอบยาก  การวัดระยะ ประกอบต้องแม่นยำ การดัดโค้งยาก เมื่อวางในร่องที่ไม่ได้ระดับ ไม่เหมาะในสภาพที่เป็นกรด เป็นด่าง ความเสียดทานสูง เพราะผิวหยาบภายในท่อ และอุปกรณ์ (Fitting) ปริมาณการไหลต่ำ เมื่อใช้ไปนานๆ เพราะเกิดตะกรันในท่อ ทำให้ขนาดภายในท่อลดลง ทำให้เกิดความดันตกคร่อม และฝุ่นสนิมหลุดไปกับลม

        Aluminum Pipe ท่ออลูมิเนียม นิยมนำมาใช้ทดแทน ท่อเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Steel pipe) เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีกว่าในเรื่อง น้ำหนักเบา การติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน การสูญเสียแรงดันต่ำกว่ามาก ไม่ต้องทำสี ข้อดีเหล่านี้เกิดจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ตอบสนองต่อความต้องการด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และเศรษฐกิจ ปัจจุบันหลายอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความสำคัญเหล่านี้จึงมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ท่ออลูมิเนียมกันมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

        ทางบริษัท นิวแม็ก ได้นำท่ออลูมิเนียม UPIPE เข้ามาเดินในระบบท่อลมอัด ระบบแวคคั่ม และระบบแก๊สเฉือย เช่นไนโตรเจน ฮีเลี่ยม อาร์กอน เนื่องจากสามารถประหยัดพลังงานให้ลูกค้าได้และมีข้อดีมากมายเช่น น้ำหนักเบา เบากว่าท่อเหล็ก 5-7 เท่า จึงติดตั้งง่ายและรวดเร็ว สามารถลดเวลาติดตั้งลงได้ 70-80% ทำให้ลดค่าแรงในการติดตั้งลง การใช้เครื่องมือน้อยกว่าระบบท่อเหล็ก และท่ออลูมิเนียม (Aluminium Pipe) จะไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน ดังนั้นจึงรับประกันอายุท่อถึง 10 ปี

03.png

Safety Reliable  

Fast Install

Energy Saving

Anti-Corrosion

Technical Specification Of Fluids

 

Material specifications

  • Plastic fitting bodies

  • Metal fitting bodies

  • O-ring

  • Aluminium ANSI B241 UNS Alloy A96063 T5

  • Polyamide 6 - GF20

  • Aluminium alloy 46100 : NBR 70Sh

Material Compatibility

04.jpg
06.jpg

Ten-year Quality Guarantee

05-03.jpg
07.jpg

ดังกราฟ ที่แสดงการเปรียบเทียบ แรงดัน (Pressure : Cost ) กับ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน Energy Cost

       ผลต่างของแรงดัน(Pressure drop) กราฟ Aluminum pipe และ กราฟของ Galvanized pipe จะเห็นได้ว่า ท่อเหล็กอาบสังกะสี ในระยะยาว ปรากฏค่า แรงดันสูญเสียที่มากกว่า เนื่องจากผิวภายในที่ไม่ราบเรียบ และโอกาศการเกิดสนิม จากรอยตัด และการสึกหรอ ของสังกะสีที่เคลือบบนพื้นผิวชั้นใน ที่หลุดออกเป็นเหตุให้เกิดการสะสมสนิมภายใน รวมถึงเป็นจุดเกิดเรื่องของการรั่ว ทำให้ต้องเสียค่าพลังงานในส่วนของต้นกำลัง ที่เพิ่มมากขึ้น

08.jpg

       ในส่วน Initial Pipe Work Investment  ราคาของท่ออลูมิเนียม Aluminum pipe จะมีราคาที่สูงกว่า ท่อเหล็กอาบสังกะสี Galvanized pipe แต่สามารถลดค่าแรงงาน ในการประกอบ และวัสดุที่ประกอบร่วมในงานระบบท่อ พวก Support  เป็นค่าใช้จ่ายค่าติดตั้งที่น้อยกว่า  มีกระบวนการขั้นตอนการประกอบที่น้อยกว่า ท่อเหล็กอาบสังกะสี Galvanized pipe ที่มีขนาดเท่ากันและขนาดที่ใหญ่ กว่าค่าใช้จ่ายในกระบวนการประกอบ จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

09.jpg

       เมื่อพิจารณา จากคุณสมบัติภาพโดยรวมของ ท่ออลูมิเนียม Aluminum pipe แล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่จะเริ่มติดตั้งระบบ AIR COMPRESSOR  หรือ จะปรับปรุง ระบบท่อส่งจ่ายเดิม เพื่อที่จะปรับใช้เต็มรูปแบบในอนาคต

10.jpg
11.jpg

เปรียบเทียบท่ออลูมิเนียม กับ ท่อเหล็กกัลวาไนซ์

12.jpg

UPIPE ALUMINIUM    

  • ไม่เป็นสนิม 100%

  • พื้นที่ขนาดภายในโตกว่า

  • ผิวภายในเรียบกว่า

  • น้ำหนักเบากว่า 5-7 เท่า

  • เซฟพลังงานได้ถึง 7%

  • ความดันตกคร่อมน้อยกว่า 0.5

  • ติดตั้งง่ายเซฟเวลาได้มากถึง 80%

  • ไม่มีการเชื่อม 100%

  • ลดค่าแรงในการติดตั้ง

         

13.jpg

GALVANIZED STEEL PIPE    

  • เคลือบสังกะสีแต่ก็ยังเป็นสนิมได้

  • พื้นที่ขนาดภายในเล็กกว่า

  • ผิวภายในขลุกขละ

  • น้ำหนักมากกว่า

  • ไม่เซฟพลังงาน

  • ความดันตกคร่อมสูงกว่า

  • ติดตั้งยากกว่า

  • มีการเชื่อมบ้างบางกรณี

  • ค่าแรงติดตั้งสูงกว่า

         

ผู้เรียบเรียง นายเผดิม สุริยาภาส 

โปรเจกเอ็นจิเนีย ซุปเปอร์ไวเซอร์

แผนก  Air Compressor

 

Email : sales.air@pneumax.co.th

โทรศัพท์ : 02-726-8000 ต่อ 640, 643, 644, 661

Line-AIR-07-07-07.png
QR-AIR.png
bottom of page