ทำไมเราถึงต้องการเครื่องทำลมแห้ง
ทำไมเราถึงต้องการเครื่องทำลมแห้ง เพราะว่าในอากาศจะมีความชื้นและไอน้ำเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง เมื่อปั๊มลมทำการดูดลมจากบรรยากาศเพื่ออัดเข้าระบบ ก็จะมีความชื้นกับไอน้ำนี้ติดเข้าไปในระบบด้วย เมื่ออากาศถูกบีบอัดให้มีปริมาตรเล็กลงความดันสูงขึ้น ปริมาณความชื้นและไอน้ำก็จะสูงขึ้นตาม
ความชื้นในระบบลมอัดจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายในระบบบได้เช่น ทำให้เกิดสนิม กัดกร่อนในท่อลม ทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย คุณภาพต่ำ ทำให้ระบบปฎิบัติการล้มเหลว ฯลฯ
ปริมาณน้ำในลมอัดจะมีมากขนาดไหน
ยกตัวอย่าง ปั๊มลมขนาดประมาณ 100 แรงม้า อัตราการผลิตลมได้ 200 l/s ถ้าทำงาน 24 ชม. จะมีน้ำเข้าในระบบลมอัดประมาณ 240 l/day ที่ อุณหภูมิบรรยากาศที่ 20 องศาเซลเซียส ถ้าคิดที่อุณหภูมิบรรยากาศที่บ้านเรา 30 – 35 องศาเซลเซียส จะมีน้ำในระบบเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ 300 – 350 l/day
เมื่อลมอัดที่ร้อนผ่าน After cooler จะควบแน่นเป็นน้ำของเหลวประมาณ 65% (195 – 227 liters) เข้าสู่ถังพักลม และยังคงอยู่ในสภาพความชื้นและไอน้ำประมาณ 35% (105 – 122 liters) เข้าสู่ระบบ น้ำประมาณ 100 liters ถือว่ามากเกินจะรับได้ ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องทำลมแห้ง เพื่อดึงน้ำออกจากลมอัด
ในปัจจุบันเครื่องทำลมแห้ง ก็จะมีหลายแบบ ขึ้นกับประสิทธิภาพในการดึงน้ำออก ซึ่งจะเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับคุณภาพลมที่ลูกค้าต้องการ
จะเห็นได้ว่า เครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารทำความเย็น (Refrigerated Air Dryer) จะทำลมแห้งได้ (Pressure Dew Point) 3 – 4 ᵒC และเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Desiccant Air Dryer) จะทำลมแห้งได้ (PDP) -40 ᵒC
Dew Point จะเป็นอุณหภูมิที่บ่งบอก ปริมาณน้ำในอากาศ ณ เวลานั้น เช่น DP +4 ᵒC จะมีปริมาณน้ำในอากาศ 5.571 g/m3 ในขณะที่ DP -40 ᵒC จะมีปริมาณน้ำในอากาศ 0.117 g/m3
ดังนั้น การเลือกใช้แอร์ดรายเออร์ก็ขึ้นกับความต้องการที่งานนั้นๆ จะต้องใช้โดยยึดตามมาตรฐาน ISO 8573-1:2010
โดยจะแบ่งความสะอาดของลมเป็นคลาส เช่น class 0, class 1, class2 ตามตารางด้านล่าง
ตัวอย่างของการติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพลมอัดตามคลาสคุณภาพลม
1. Compressor with after-cooler 5. S filter
2. G filter 6. D filter
3. C filter 7. Refrigerant dryer
4. V filter 8. Adsorption dryer
A. General purpose protection
(air purity to ISO 8673-1 : G filter class 2:-:3 & P filter class 4:-:3)
B. General purpose protection and reduced oil concentration
(air purity to ISO 8673-1 : class 1:-:2)
C. High quality air with reduced dew point
(air purity to ISO 8573-1 : class 1:4:2)
D. High quality air with reduced dew point oil concentration
(air purity to ISO 8573-1 : class 1:4:1)
E. High quality air with extremely low dew point
(air purity to ISO 8573-1 : class 2:2:1)
F. High quality air with extremely low dew point
(air purity to ISO 8573-1 : class 1:2:1)
เครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (Desiccant air dryer/Adsorption dryer)
หลักการของเครื่องทำลมแห้งชนิดนี้ อยู่บนหลักการเรื่องของการดึงดูดระหว่างโมเลกุลระหว่างสารดูดซับกับโมเลกุลของน้ำหรือไอน้ำในอากาศอัด (ไม่มีการทำให้ลมเย็นลง)
โมเลกุลของน้ำจะถูกส่งเข้าในรูในเม็ดสาร โดยวิธี Diffusion โมเลกุลของน้ำจะถูกดูดซับโดยเม็ดสารด้วยวิธี :
-
physical binding ( attraction )
-
chemical binding
-
capillary-condensation
เรานำเม็ดสารเหล่านี้ใส่ในถังโลหะ ปริมาณเม็ดสารก็ขึ้นกับอัตราการไหลของลมอัด ลมอัดจะเข้าด้านล่างของถังแล้วขึ้นสู่ด้านบน เม็ดสารก็จะทำการดูดซับความชื้นในลมอัด เม็ดสารเหล่านี้เมื่อดูดซับความชื้นเข้าในตัวเม็ดสาร เม็ดสารก็จะมี
การอิ่มตัว จึงต้องมีการระบายความชื้นออกจากเม็ดสารด้วย เราจึงจำเป็นจะต้องมีถังเม็ดสาร จำนวน 2 ถัง เพื่อสลับการทำงาน
วงจรการทำงานของ Desiccant Air Dryer ที่สลับการทำงาน ในตอนแรกลมอัดที่มีความชื้นจะเข้าถังแรกด้านซ้ายมือ จากด้านล่าง และลมอัดจะไหลออกไปด้านบนโดยผ่านเม็ดสาร เม็ดสารจะดูดซับความชื้นออก ลมอัดที่ออกด้านบนจะเป็นลมอัดที่แห้งและสะอาด ออกไปใช้งาน และจะมีลมส่วนหนึ่งประมาณ 10% จะเข้าถังที่สองจากด้านบน ทำการดึงความชื้นออกจากเม็ดสารลงด้านล่างและระบายลมทิ้งสู่บรรยากาศ
ถังแรกจะทำงานที่เรียกว่า Adsorption ส่วนถังที่สองจะทำงานที่เรียกว่า Re-generation เมื่อครบเวลาตามที่ทางโรงงานได้คำนวนว่าเม็ดสารในถังแรกอิ่มตัว เม็ดสารในถังที่สองก็จะแห้งพร้อมใช้งาน ก็จะสลับการทำงานให้ลมอัดเข้าที่ถังที่สองแทนทำหน้าที่ Adsorption ส่วนถังแรกก็จะทำการ Re-generation และจะสลับการทำงานไปแบบนี้ตลอด
Trident Desiccant Air Dryer เป็นเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถทำ Pressure Dew Point ได้ถึง -40ᵒC และมีออฟชั่นให้เลือกที่สามารถทำ PDP ได้ถึง -70ᵒC
Trident Desiccant Air Dryer รุ่น “Dryspell Plus” ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสากล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบสวยงาม ติดตั้งง่าย
-
Designed For – ISO:7183-1986 (E)
-
Dryer Quality Class – ISO:8573-1:2010 (E) class 2
-
Pre-Filter Quality Class – ISO:8573-1:2010 (E) class 1
-
Consistent Dew Point performance
-
Noise Level <70 dBA
-
Pressure Drop < 0.3 kg/cm2 (g)
-
Aluminum Construction
-
Free From Corrosion & Scale Formation at Inner and Outer sides
-
Uses High Crush Strength Adsorbent Materials
นอกจากนี้ยังติดตั้ง บอร์ดคอนโทรลอัจฉริยะ ที่สามารถเลือกระดับการ Purge ได้ตามการใช้งานจริงทำให้ประหยัดพลังงานมากกว่าในท้องตลาดทั่วไป และยังสามารถลิ้งค์กับ Dew Point Meter ที่ลูกค้าติดตั้งเพิ่มได้ เพื่อให้การทำงานได้เป็นแบบ Dew Point Control
Specification
-
Maximum Operating Pressure : 16 kg/cm²(g)
-
Air Inlet Temperature : 38°C Max
-
Operating Pressure : 7 kg/cm²(g)
-
Pre-Filter Rating : 0.01 Micron
-
Cycle Time : 4 Minutes
-
Operating Voltage : 100-240 VAC 50/60Hz 1 Ph
-
Outlet Conditions : Dry air at -40°C PDP*
-
Purge Loss : 15±1%
-
*ISO:8573-1:2010 (E) class -2-
Application
-
Painting and Powder Coating
-
Machine Tool
-
Packaging Application
-
Auto Garage
-
Textile & Garment
-
Instrumentation
-
Pharmaceutical
-
Dental Laboratory
-
Rail Vehicles
-
Telecomm industry (pressurises its underground cables to repel moisture and avoid shorts)
-
Pneumatic control systems
-
Feed air for Zeolite type Oxygen and Nitrogen generators
-
Truck and Train Air brake systems.