top of page

Metering Pump Installation

001.jpg
002.jpg

              มิเตอร์ริ่งปั๊ม (Metering Pump) เป็นปั๊มที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการดูด-จ่ายสารเคมีที่มีความแม่นยำสูง โดยค่าความคลาดเคลื่อนค่อนข้างน้อยอยู่ที่ประมาณ ±2%  ดังนั้นปั๊มประเภทนี้ จึงได้รับความนิยมในการนำไปใช้งานที่ต้องการความแม่นยำของอัตราการไหลสูง เช่น ในงานดูด-จ่ายสารเคมีในระบบบำบัดน้ำเสีย  โดยการติดตั้งมิเตอร์ริ่งปั๊มสามารถติดตั้งหลักๆได้  
2 แบบ คือ การติดตั้งแบบ Flood suction และการติดตั้งแบบ Suction lift

003.jpg

การติดตั้งแบบ Flood suction

           การติดตั้งแบบ Flood Suction คือ เป็นการติดตั้งในลักษณะระดับของเหลวอยู่สูงกว่าปั๊ม ทำให้ของเหลวไหลเข้าหน้าปั๊มและภายในท่อตลอดเวลา

004.jpg

การติดตั้งแบบ Suction lift

            การติดตั้งแบบ Suction lift คือ เป็นการติดตั้งในลักษณะที่ระดับของของเหลวอยู่ต่ำกว่าปั๊ม และต้องอาศัยแรงดูดของปั๊มในการดูดของเหลวเองเข้ามาภายในหน้าปั๊มเอง ซึ่งในการติดตั้งแบบ Suction lift นั้น บริเวณด้านขาดูด (Suction) ควรติดตั้งท่อขาดูดในลักษณะที่ท่อนั้นตั้งตรง ไม่คดหรือโค้งงอ เนื่องจากจะทำให้เกิดฟองอากาศในระบบ ส่งผลให้ปั๊มไม่สามารถดูด-จ่ายของเหลวได้อย่างเต็มที่ รวมถึงส่งผลให้อัตราการไหลของปั๊มคลาดเคลื่อนด้วย

 

            ในการติดตั้งปั๊มไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบ Flood suction หรือแบบ Suction lift นั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังในด้านการใช้งาน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยภายนอกและภายในระบบร่วมด้วย การติดตั้งอุปกรณ์ภายในระบบเพิ่มเติมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้การใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

005.jpg

การติดตั้งอุปกรณ์ภายในระบบ

          จากเส้นทางเดินการไหลของของเหลวในสภาวะปกติ (ตามเส้นสีแดง) จากถังเก็บของเหลวจนถึงกระทั่งจ่ายของเหลวออกไปใช้งานยัง Line Process

          การติด 1) Strainer ทำหน้าที่ช่วยกรองตะกอนก่อนเข้าปั๊ม หรือในกรณีที่ติดตั้งแบบ Suction lift ก็ควรติดตั้ง Foot valve ซึ่งจะมีหน้าที่ในการกรองตะกอนและกั้นของเหลวไม่ให้ไหลย้อนกลับลงถังเก็บของเหลว 

          สำหรับการติด 2) Calibration Column ทำหน้าที่ ตรวจวัดอัตราการไหลของปั๊ม และในการเลือกขนาดของ Calibration Column นั้น ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดปั๊มที่ใช้งาน

          เนื่องจากหลักการในการทำงานของมิเตอร์ริ่งปั๊มนั้นมีการดูด-จ่ายเป็นจังหวะ (Pulse)  ดังนั้นของเหลวทางด้านขาจ่ายที่ออกมาจะเป็นจังหวะและไม่สม่ำเสมอด้วยเช่นกัน การติดตั้ง  3) Pulsation Dampener จะทำหน้าที่ ลดการกระเพื่อมตามจังหวะของของเหลวภายในท่อที่ออกจากปั๊ม และป้องกันการเกิด Hammer ภายในท่อขาจ่าย รวมถึงทำให้อัตราการไหลราบเรียบมากขึ้น 

          ที่ปลายขาจ่ายควรติดตั้ง 4) Back Pressure ทำหน้าที่ในการบล็อกของเหลวที่ออกจากปั๊ม ทำให้ของเหลวมีแรงดันเพียงพอหรือมีแรงดันตามที่ตั้งค่าไว้ก่อนปล่อยออกสู่ Line Process เพื่อให้ได้อัตราการไหลที่แม่นยำ รวมทั้งยังป้องกันการเกิดกาลักน้ำ (Siphoning) ด้วย

07.jpg

การติดตั้งอุปกรณ์ภายในระบบ

            แต่ในกรณีที่เกิดการบล็อกหรือปิดเส้นทางการเดินของเหลว อย่างเช่นตัวอย่าง เส้นทางเดินการไหลของของเหลวในสภาวะที่วาล์วทางด้านขาจ่ายในระบบถูกปิดหรือถูกบล็อคไว้ แต่ปั๊มยังทำงานและจ่ายของเหลวตามปกติ  เมื่อปั๊มทำงานไปเรื่อยๆ แรงดันในระบบทางด้านขาจ่ายจะเพิ่มขึ้น ถ้าแรงดันสูงขึ้นมากกว่าค่าแรงดันที่ตั้งค่าไว้ การติดตั้ง  5) Safety valve จะทำหน้าที่เป็นวาล์วระบายแรงดันภายในระบบ เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายต่อปั๊ม อุปกรณ์ต่างๆ และท่อภายในระบบ (ตามเส้นประสีน้ำเงิน)

            หากในการใช้งานปั๊มมีการติดตั้งปั๊มที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดการเกิดปัญหาต่างๆในด้านการใช้งาน ทั้งปัญหาของอัตราการไหลของของเหลวที่คลาดเคลื่อน และลดการเกิดความเสียหายต่อปั๊มและอุปกรณ์ต่างๆในระบบ

bottom of page